วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบโครงกระดูก


สวัสดีค่ะ พวกเราขอต้อนรับผู้เยี่ยมชม บล็อกนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับระบบกระดูกของร่างกายมนุษย์



ระบบโครงกระดูก

http://bfsave189.files.wordpress.com/2013/10/e0b8a3e0b8b0e0b8b0e0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b881e0b8a3e0b8b0e0b894e0b8b9e0b881.jpg
ระบบกระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
  1.        ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้
  2.        ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับ กะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น
  3.        เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ รวมทั้งพังผืด
  4.        สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
  5.        ช่วยในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกระดูกยาวทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นมุมที่กว้างขึ้น
  6.        เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส
  7.        บางชนิดยังช่วยในการนำคลื่นเสียง ช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน


กระดูกของคนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.       กระดูกแกน (Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย

http://www.rci.rutgers.edu/~uzwiak/AnatPhys/APFallLect9_files/image001.jpg
1.1    กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull) ภายในกะโหลกศีรษะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง จะมีกระดูกกะโหลกศีรษะและ
กระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมองด้วย

http://www.skullsunlimited.com/userfiles/image/category3_family_227_large.jpg
1.2    กระดูกสันหลัง (Vertebra) เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย กระดูกสันหลัง
เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc)”
ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้าแผ่นกระดูกอ่อนนี้เสื่อมเราจะปวดหลัง 
และไม่สามารถบิดหรือเอียงตัวได้

http://www.spineuniverse.com/sites/default/files/legacy-images/dp_latcutaway-BB.jpg
1.3    กระดูกซี่โครง (Rib) มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงให้ส่วนอก กระดูกซี่โครง
จะเชื่อมกบกระดูกอก (Sternum) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน 
การหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดนี้สลับกันเกิดการเคลื่อนที่เข้า ออกของอากาศภายนอกและภายในช่องอก มีผลทำให้กระดุกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและลง และทำให้ปริมาตรภายในช่องอกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

http://thesebonesofmine.files.wordpress.com/2011/05/rib-cage.jpg
2.       กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึงโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกกระดูกแกนซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหว
ของแขน ขา โดยตรง รวมทั้งกระดูกสะบักและกระดูกเชิงกรานที่เป็นฐานรองกระดูกแขนและกระดูกขา

http://sciencecity.oupchina.com.hk/biology/student/glossary/img/appendicular_skeleton.jpg
กระดูกแขนเริ่มแต่บริเวณไหล่ มีกระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าทำหน้าที่เป็นฐานรองแขน เชื่อมโยงระหว่างกระดูกสันหลังด้านบนของลำตัวกับกระดูกต้นแขน

http://nprucomed08.50megs.com/IMAGE/skeloton4.jpg
กระดูกขาเริ่มตั้งแต่บริเวณเชิงกรานที่ต่อกับกระดูกต้นขา และจากกระดูกต้นขา มีสะบ้าหัวเข่าที่ฝังอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อและต่อกับกระดูกแข็ง

http://nprucomed08.50megs.com/IMAGE/NPRUCOMED08%20(116).jpg
ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก
            ข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมหรือต่อกัน โดยมีเอ็นหรือกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรงให้แก่ข้อต่อ ทำให้โครงกระดูกยืดหยุ่น ส่วนต่างๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวก ข้อต่อบริเวณต่างๆ ของร่างกายมีลักษณะต่างกัน มีผลทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายบางส่วนแตกต่างกัน เช่น ข้อต่อบางแห่งมีลักษณะการเชื่อมกันเหมือนบานพับ ทำให้การเคลื่อนไหวตรงส่วนนั้นจำกัดได้ทิศทางเดียว เหมือนการเคลื่อนไหวของบานพับประตู เช่น ข้อต่อบริเวณข้อศอก ข้อต่อบริเวณหัวไหล่มีลักษณะคล้ายลูกกลมในเบ้ากระดูก ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ข้อต่อบริเวณต้นคอมีลักษณะประกบสวมกันคล้ายเดือย ทำให้สามารถก้ม เงย บิดไปทางซ้ายและขวาได้ ข้อต่อของกะโหลกศีรษะเป็นข้อต่อที่ยึดด้วยเอ็นพังผืดขาว เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
- ball and socket ด้านหนึ่งของข้อต่อ เป็นรูปกลมเคลื่อนไหวอยู่ในอีกด้านที่เป็นเบ้ารับกันพอดี ทำให้เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก

- ellipsoid คล้าย ball and socket แต่เล็กทำให้หมุนไม่ได้รอบตัว เช่น ข้อมือ

- saddle เป็นรูปอานม้า 2 ข้างประกบกัน เคลื่อนไหวได้ดี ยกเว้นการหมุน เช่น ข้อโคนนิ้วหัวแม่มือ

- hinge แบบบานพับ เช่น ข้อศอ ข้อเข่า

- pivot เป็นวงแหวนหมุนรอบแกน ทำได้แต่หมุนเท่านั้น เช่น ข้อต่อกระดูกคออันที่ 1 กับ 2

- gliding เคลื่อนไหวได้น้อย ทำได้แค่ขยับไปมาเท่านั้น เช่น ข้อระหว่างกระดูกข้อมือ


Credit
http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson6.php
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/09.htm




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น